วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

ความหมายของรีเอ็นจีเนียริ่ง

รีเอ็นจีเนียริ่ง คือ การรื้อปรับระบบ ซึ่งมีหลายความหมายดังต่อไปนี้
  • การเริ่มต้นกันใหม่โดยไม่ยึดติดกับสิ่งที่เกิดขึ้นมา จากอดีตจนถึงปัจจุบัน หรือไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อย แต่เป็นกระบวนการที่ทำมายาวนาน เพื่อที่จะสร้างสินค้าหรือบริการที่ให้คุณค่าแก่ผู้บริโภค
  • การพิจารณาหลักการพื้นฐานอีกครั้งหนึ่งและการออกแบบกระบวนการทางธุรกิจอีกครั้งเพื่อก่อให้เกิดการปรับปรุงที่ยิ่งใหญ่อย่าเห็นเด่นชัด

การรีเอ็นจีเนียริ่ง คือ รูปแบบการนำกระบวนการจัดการใหม่มาแทนกระบวนการที่ใช้อยู่เดิมอย่างถอนรากถอนโคนหรือเรียกว่า คือการประดิษฐ์ค้นคิดหากระบวนการดำเนินกิจการขึ้นมาใหม่ หลักการของรีเอ็นจิเนียริ่งจึงต้องยึดอยู่กับการสนองต่อกลยุทธ์หลักขององค์การธุรกิจนั้นทั้งในด้านการตลาด การผลิต การบริการและอื่นๆ

จากความหมายดังกล่าวจะเห็นว่า การรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำทั้งองค์การและดำเนินการทุกด้านทั้งด้านการตลาด การผลิต การบุคลากร การบริการ และกับทุกระบบ
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการทำรีเอ็นจิเนียริ่ง มีดังนี้


1.ใช้กลยุทธ์เป็นตัวนำ ต้องพิจารณาว่าธุรกิจของเราเป็นธุรกิจอะไรแบบไหนในอนาคต และพยายามมองหาวิธีการที่จะสร้างผลกำไรจากธุรกิจนี้
2.ต้องอาศัยการเริ่มและบังคับบัญชาโดยผู้บริหารระดับสูง การรีเอ็นจิเนียริ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานหลายหน่วยงาน ดังนั้นผู้บริหารที่มีอำนาจเพียงพอเท่านั้นจึงสามารถดูแลตรวจสอบกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ และทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยงรอยต่อระหว่างหน่วยงาน
3.สร้างบรรยากาศของความเร่งด่วน ผู้บริหารจะต้องสร้างบรรยากาศให้งานต่างๆมีความเร่งด่วน ผลักดันงานให้มีความต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง และสร้างบรรยากาศที่ดีให้กับผู้ปฏบัติงานในหน่วยงานนั้นๆ
4.การออกแบบและกระบวนการจากภายนอก การที่องค์การจะหาความต้องการของลูกค้าได้นั้นจะต้องใช้วิธีการสำรวจวิจัยหลายรูปแบบ นอกจากนี้ไม่จำเป็นต้องใช้เวลานานนักกับการศึกษาขั้นตอนต่างๆของงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้ทิ้งระบบเก่าโดยเร็ว ระบบอาจนำมาพิจารณาจุดที่สำคัญของงานได้บ้างในบางขั้นตอน
5.การดำเนินการกับที่ปรึกษา ผู้บริหารควรจะเข้ามาร่วมงานตั้งแต่ต้นจนจบ คือ เริ่มตั้งแต่การออกแบบงาน การนำแผนไปปฏิบัติ และให้การอบรมแก่ผู้เชี่ยวชาญภายในองค์การ เพื่อถ่ายทอดหลักการเหล่านั้นไปยังระดับล่าง
6.ทำการผนวกกิจกรรมของระดับบนลงสู่ระดับล่าง การรีเอ็นจิเนียริ่ง ไม่สามารถเริ่มต้นได้จากระดับล่าง เพราะอาจจะมีการขัดขวางจากกลุ่มคนหรือหน่วยงานภายในองค์การแต่การบริหารจากระดับบนสู่ระดับล่าง หรือจากระดับล่างขึ้นสู่ระดับบนนั้นไม่ได้มีวามขัดแย้งกันโดยแท้จริงแล้ว การรีเอ็นจิเนียริ่งให้ดีนั้น ต้องอาศัยสภาพแวดล้อม และบรรยากาศของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องของระบบ TQM การตั้งเป้าหมายเป็นเรื่องของการบริหารจากระดับบนลงสู่ระดับล่า ขณะเดียวกันวิธีการทำงานเป็นเรื่องของการบริหารจากระดับล่างสู่ระดับบน